วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556


                                      บทที่ 1  บทนำ

 

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ในปัจจุบัน มีการคิดค้นประดิษฐ์โมบาย รูปแบบแปลกใหม่ ขึ้นมาเรื่อยๆ เช่นการนำเปลือกหอยมาทำโมบาย โมบายจากหลอดดูดน้ำ โมบายปลากระดาษ และอื่นๆ  แต่โดย คณะผู้จัดทำโครงงานก็ได้นำการประยุกต์ จากรูปเรขาคณิต มีรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม มาประดิษฐ์ทำโมบาย โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนในกลุ่ม คิดค้น รูปแบบ เพื่อประโยชน์การใช้สอย ตกแต่งสวยงาม และประกอบสื่อการเรียนรู้ได้

 

       วัตถุประสงค์

1.             ต้องการจัดทำโมบายจากรูปเรขาคณิต

2.             เพื่อนำรูปเรขาคณิตมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งทางตรงและทางอ้อม

3.             เพื่อเรียนรู้ที่จะสร้างความคิดที่แปลกใหม่ สร้างโมบายสวยๆ ได้ตามใจปรารถนา

 

     เนื้อหาทางคณิตศาสตร์

       รูปเรขาคณิต 2 มิติ

1.             รูปสี่เหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก

2.             รูปสามเหลี่ยม

ชนิดของรูปสามเหลี่ยม
รูปสามเหลี่ยมคือรูปปิด ที่มี 3 ด้าน 3 มุม โดยมุมภายในรวมกันได้ 180 องศา

ชนิดของรูปสามเหลี่ยม

3.             รูปวงกลม

รูปบนระนาบที่มีจุดทุกๆจุดห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากันเรียกว่า รูปวงกลม

ขอบของรูปวงกลม เรียกว่า เส้นรอบรูปวงกลม หรือ เส้นรอบวง

จุดคงที่ เรียกว่า จุดศูนย์กลาง

 

ขอบเขตของการศึกษา

1.             รูปเรขาคณิต

                มีอยู่สามแบบ คือ รูปสี่เลี่ยม รูปสามเหลี่ยม และวงกลม 

2.             รูปแบบการตัด

-                    เตรียมกระดาษ ต่างๆที่ต้องการนำมาตัดเป็นรูปเรขาคณิตที่คิดไว้  จะเป็นกระดาษสี หรือ นำกล่องของที่ไม่ได้ใช้ มาตัด ก็ได้ เพื่อจะได้ใช้สิ่งของเหลือใช้ให้มีค่ามากยิ่งขึ้น

-                    - ตัดรูปเรขาคณิตต่างๆ และตกแต่งให้สวยงาม ตามแบบแผนความคิดของแต่ละคน

3.             ขั้นตอนการทำโมบาย

-          นำรูปเรขาคณิตข้างต้นที่ตกแต่งสมบูรณ์แล้ว มาร้อยกับเชือก ใส่ลูกปัดต่างๆตกแต่งให้สวยงาม

-           ตรวจดูความเรียบร้อย

-          นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า

 

 

 

 

                 บทที่ 2 ทฤษฎี/เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.             การตัดรูปเรขาคณิตต่างๆได้แก่ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม

-          นำกระดาษ , หรือกล่องที่เหลือใช้ มาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม

           

                

                         

                               

 

       

 

                              

 

 

 

                               

 

                 

                  

-          ตกแต่งรูปเรขาคณิต ด้วยแบบแผนความคิดของแต่ละคนในกลุ่ม เช่น วาดภาพให้สี่เหลี่ยมเป็นหน้า การ์ตูน ,ผลไม้ เป็นต้น

   

 

                   

 

 

2.             การทำโมบาย

-          เราจะประยุกต์จากโมบาย ที่ใช้ตกแต่งภายใน โดยการนำรูปเรขาคณิต ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และรูปวงกลม มาใช้แทนของตกแต่ง เช่นเปลือกหอย หลอดดูดน้ำ

-          จากนั้นนำรูปเรขาคณิตที่ตกแต่งเรียบร้อยแล้ว มาร้อย กับเชือก แต่งเติมด้วยลูกปัด กระดิ่ง ให้ดูสวยงาม


-          นำไปร้อยกับตัวกลาง , หรือ รูปเรขาคณิตขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้เป็นหลักของ โมบายได้

 

                       บทที่ 3 วิธีดำเนินงาน

1.             จัดตั้งกลุ่มโครงงานตามที่อาจารย์แนะนำ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 คนมีการประชุมหารือในช่วงเวลาที่กำหนด โดยแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกแต่ละคน

2.             ดำเนินการตามหน้าที่ที่แบ่งเอาไว้

-          สืบค้นหางานที่ต้องทำ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต / หนังสือ ต่างๆ ตามความต้องการ
      -          นำเอกสารมารวบรวม แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ว่าจะทำสิ่งไหน หรือ นำอะไรมาประกอบงาน

-          สมาชิกทุกคนทำงานตามที่มอบหมาย


3.             สรุปผลในการดำเนินงาน

4.             จัดทำรายงานโครงงาน คณิตศาสตร์

5.             นำเสนอโครงงานคณิตศาสตร์

 

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา

1.             กระดาษสี , กล่องเหลือใช้

2.             กาวลาเท็กซ์

3.             ด้ายสี , เชือกหลากสี

4.             รูปแบบเรขาคณิต

5.             กรรไกร

6.             ดินสอ

7.             เข็ม

8.             ลูกปัดสีต่างๆ

 

            วิธีการศึกษา

        ทางกลุ่มได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานก่อนกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้

1.             ความหมาย หลักการ จุดประสงค์ ประเภท ขั้นตอน และตัวอย่างของการทำโครงงานคณิตศาสตร์

2.             ลักษณะของรูปเรขาคณิตต่างๆ

3.             วิธีการสร้าง,ทำโมบายต่างๆ

 

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.             ไปศึกษาในเว็บไซด์ต่าง

2.             นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง

3.             ส่งข้อมูลให้สมาชิก ที่ได้รับมอบหมายทำแผ่นพับ

4.             สร้างโมบาย

 

โมบายในแบบประยุกต์

ทางคณะผู้จัดทำได้นำรูปเรขาคณิตมาประยุกต์ทำเป็นโมบาย เพื่อสื่อการเรียนการสอน / ประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า

-          นำกระดาษสีต่างๆ,กล่องที่ใช้แล้ว มาตัดทำเป็นรูปเรขาคณิต ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และรูปวงกลม

 

 

-          ตกแต่งรูปเรขาคณิตให้สวยงาม แปลกใหม่ ในแบบแผน/ความคิดของแต่ละคน

 

                     

 

 

-          นำไปประกอบทำเป็นโมบาย และตกแต่งเพิ่มเติมด้วย ลูกปัด,กระดิ่ง ให้สวยงาม

-          เสร็จสมบูรณ์

 

 

                                  บทที่ 4 ผลการศึกษา

1.             รูปเรขาคณิต 3 แบบ ได้แก่ รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม และรูปวงกลม

-          รูปสี่เหลี่ยม

     ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยม คือรูปหลายเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้าน (หรือขอบ) และมุมสี่มุม (หรือจุดยอด)รูปสี่เหลี่ยมมีทั้งที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างง่าย (ไม่มีด้านที่ตัดกันเอง) และ รูปสี่เหลี่ยมซับซ้อน (มีด้านที่ตัดกันเอง หรือเรียกว่ารูปสี่เหลี่ยมไขว้) รูปสี่เหลี่ยมอย่างง่ายอาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมนูน (convex) หรือรูปสี่เหลี่ยมเว้า (concave) อย่างใดอย่างหนึ่งมุมภายในของรูปสี่เหลี่ยมอย่างง่ายรวมกันได้ 360 องศา ส่วนรูปสี่เหลี่ยมซับซ้อน เนื่องจากมุมภายในที่ด้านตรงข้ามเป็นมุมกลับ ทำให้รวมกันได้ 720 องศา]รูปสี่เหลี่ยมนูนทุกรูปสามารถปูเต็มปริภูมิโดยการหมุนรอบจุดกึ่งกลางที่ด้านของมัน

-          รูปสามเหลี่ยม

     รูปสามเหลี่ยม (อังกฤษ: triangle) เป็นหนึ่งในรูปร่างพื้นฐานในเรขาคณิต คือรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมี 3 มุมหรือจุดยอด และมี 3 ด้านหรือขอบที่เป็นส่วนของเส้นตรง รูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอด A, B, และ C เขียนแทนด้วย ABCในเรขาคณิตแบบยุคลิด จุด 3 จุดใดๆ ที่ไม่อยู่ในเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมได้เพียงรูปเดียว และเป็นรูปที่อยู่บนระนาบเดียว (เช่นระนาบสองมิติ)

-          รูปวงกลม

    รูปวงกลม (อังกฤษ: circle) เป็นรูปร่างพื้นฐานอันหนึ่งในเรขาคณิตแบบยุคลิด รูปวงกลมเป็นโลกัส (locus) ของจุดทุกจุดบนระนาบที่มีระยะห่างคงตัวกับจุดที่กำหนดอีกจุดหนึ่ง ระยะห่างนั้นเรียกว่ารัศมี และจุดที่กำหนดเรียกว่าจุดศูนย์กลาง สามจุดใดๆ ที่ไม่อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถวาดรูปวงกลมผ่านทั้งสามจุดได้เพียงวงเดียวเส้นรอบวง คือเส้นรอบรูปของรูปวงกลม ส่วนโค้ง (arc) คือส่วนหนึ่งที่เชื่อมต่อกันของเส้นรอบวง คอร์ด (chord) คือส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายทั้งสองบรรจบอยู่บนเส้นรอบวง เส้นผ่านศูนย์กลาง คือคอร์ดที่ลากผ่านจุดศูนย์กลาง มีความยาวเป็นสองเท่าของรัศมี และเป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลมรูปวงกลมเป็นเส้นโค้ง (curve) แบบปิดที่แบ่งระนาบออกเป็นพื้นที่ภายในกับพื้นที่ภายนอก พื้นที่ภายในรูปวงกลมเรียกว่า จาน (disk)  รูปวงกลมเป็นกรณีพิเศษของรูปวงรีที่มีโฟกัส (focus) อยู่ที่จุดเดียวกันนั่นคือจุดศูนย์กลาง นอกจากนี้รูปวงกลมยังเป็นภาคตัดกรวยที่เกิดจากการตัดด้วยระนาบที่ตั้งฉากกับแกนของทรงกรวย เป็นต้น

 

 

2.             การตัดรูปเรขาคณิตในแบบต่างๆ ได้แก่ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม

3.             การสร้างโมบาย

     เราประยุกต์นำเรขาคณิตมาทำเป็นโมบาย เพื่อสื่อการสอน และการประดิษฐ์สิ่งของเหลือใช้  เพื่อประโยชน์ใช้สอย โดยมีหลักการทำ ดังนี้

-          นำกระดาษ,กล่องที่เหลือใช้มาตัด เป็นรูปเรขาคณิตต่างๆ ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม

-          ตกแต่งรูปเรขาคณิตข้างต้นตามแบบแผน/แนวคิดของแต่ละคนของสมาชิกกลุ่ม

-          นำรูปเรขาคณิตที่ตกแต่งเสร็จ ไปประกอบ ทำโมบาย / ตกแต่งเพิ่มเติม ด้วยลูกปัด และกระดิ่งตามความเหมาะสม

-          งานเสร็จสมบูรณ์ สามารถใช้ประโยชน์ได้ อย่างคุ้มค่า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                    บทที่5  สรุปและอภิปรายผลการศึกษา

            สรุปผลการศึกษา

1.             ได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ มากขึ้น

2.             สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่างๆมากมาย

3.             ได้วิธีการทำโมบายแบบแปลกใหม่ ด้วยตัวเอง

 

         อภิปรายผลการศึกษา

1.             การที่กลุ่มของเราได้ศึกษาจะพบว่า มีรูปเรขาคณิตสามมิติ อยู่ด้วยกัน 4 อย่าง จะมี ปริซึม , กรวย , พีระมิด , ทรงกลม

2.             วิธีการพับ หรือ สร้างรูปเรขาคณิตโดยกระดาษสีต่างๆ จะแตกต่างกันออกไป ในแต่ละชนิด

3.              การทำโมบายต่างๆไม่จำเป็นว่าจะต้อง ทำแค่ในแบบ เดิมๆ สามารถสร้างแนวคิดที่แปลกใหม่ในการสร้างผลงานต่างๆตามความคิดสร้างสรรค์ของเราเอง

 

 ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน

1.             ได้ความรู้เพิ่มเติมจากเรขาคณิตต่างๆ

2.             ได้สร้างสรรค์ผลงานด้านการประดิษฐ์  โมบาย

 

ข้อเสนอแนะ

1.             ควรมีการคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมผลงานให้มีความแปลกใหม่และสวยงามอยู่ตลอดเวลา

2.               ควรศึกษาในการพับ หรือ รูปแบบการทำเรขาคณิตให้ละเอียดก่อนลงมือปฏิบัติ

 

 

      เอกสารอ้างอิง

        รูปเรขาคณิตต่างๆ รูปสามเหลี่ยม จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1


        รูปวงกลม


ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการสร้างโมบาย http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/13633-025884

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น